ส่วนประกอบของไขควงและหลักการใช้งานไขควงด้วยความปลอดภัย
ไขควง เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับขันหรือคลายสกรูและสลักเกลียวที่ยึดไม้
พลาสติก หรือโลหะ ส่วนประกอบของไขควงแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
คือ
ด้าม (Handle) ใช้สำหรับจับ
ทำจากไม้ โลหะ หรือพลาสติก
ก้านหรือแกน (Shank) ใช้สำหรับส่งแรงบิดไปยังส่วนปลาย
ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเหลี่ยมหรือกลม
ปากหรือปลาย (Blade) ใช้สอดหรือสวมเข้าไปยังร่องของหัวสกรูหรือสลักเกลียว ทำจากโลหะ ปากมี 2 แบบ คือ ปากสี่แฉก (Phillip) และปากแบน (Flat)
การใช้ไขควงด้วยความปลอดภัย
ทำได้ดังนี้
- เลือกใช้ปากของไขควงให้เหมาะสมกับร่องของหัวสกรู
หรือสลักเกลียว เช่น ปากสี่แฉก ร่องของหัวสกรู ต้องเป็นสี่แฉก ปากแบน
ร่องของหัวสกรูต้องเป็นแบบกลม
- ความหนาของปากไขควงต้องพอดีกับร่องของหัวสกรู
- การจับไขควงสำหรับผู้ถนัดมือขวา
ให้ใช้มือขวาจับด้าม ส่วนมือซ้ายจับที่แกน แล้วออกแรงบิดด้วยมือขวา
ส่วนมือซ้ายเพียงแต่ประคอง ถ้ากำลังไม่พอให้ใช้ประแจปากตายช่วย
- ขณะที่ใช้งานไขควงต้องตั้งตรง
หรือตั้งฉากกับหัวสกรู เมื่อต้องการคลายสกรูให้บิดไขควงทวนเข็มนาฬิกา และบิดตามเข็มนาฬิกาเมื่อต้องการขันแน่น
- ออกแรงบิดไขควงเท่านั้น
ไม่ควรออกแรงกดมากเกินไป
- ไม่ควรถือชิ้นงานไว้ในมือขณะใช้ไขควง
เพราะอาจพลาดถูกมือได้
- อย่าใช้ไขควงที่ชำรุด เช่น ด้ามแตกหรือร้าว
ปากงอหรือบิดงอ
- การขันสกรูยึดชิ้นงานที่เป็นไม้ควรใช้เหล็กตอกหรือสว่านเจาะนำก่อน
- ปากไขควงและหัวสกรูต้องไม่มีน้ำมันหรือจาระบี
- ห้ามใช้ไขควงแทนสกัด เหล็กนำศูนย์
หรือเหล็กงัด
- ห้ามใช้ค้อนตอกที่ด้ามไขควง
ยกเว้นไขควงที่ออกแบบมาให้ใช้ค้อนตอกได้
- การใช้ไขควงตรวจไฟตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
ด้ามของไขควงที่เป็นฉนวนต้องไม่แตกหรือร้าว และไม่ควรใช้ตรวจสอบวงจรที่มีกระแสหือแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูง
- ภายหลังใช้งานต้องทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในที่แห้ง ปราศจากน้ำมันหรือจาระบี