อุปกรณ์หลักสำหรับระบบไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย
อุปกรณ์หลักสำหรับระบบไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย ได้แก่
1. เครื่องป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจร
2. เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว
3. หลักดิน, สายต่อหลักดิน และสายดินเครื่องป้องกันกระแสเกินและกระแสไฟลัดวงจร หรือที่เรียกว่า " เครื่องปลดวงจร " หรือ " สวิทช์ตัดตอน "มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบอัตโนมัติ
แบบกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ คารตริกฟิวส์ และ คัทเอ้าท์ (หรือสะพานไฟ)
แบบอัตโนมัติ ได้แก่ สะพานไฟอัตโนมัติ และ เซอร์กิตเบรคเกอร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า " เบรคเกอร์ "
การใช้กระแสไฟเกิน หมายถึง การใช้กระแสไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ แล้วทำให้ค่าการกินกระแสไฟจากการใช้ไฟนั้นมากกว่าค่ารองรับการใช้กระแสไฟของเครื่องป้องกัน หรือสวิทช์ตัดตอน
การลัดวงจร หมายถึง การที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 2 เส้น(ในระบบ 1 เฟส 2 สาย) คือสายเส้นที่มีกระแสไฟ (L) ไปสัมผัส ถูกสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟหรือสายศูนย์ (N) อย่างโดยตรง หรือการที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 3 เส้น ( ในระบบ 3 เฟส-4 สาย) สัมผัสถูกกัน เช่น สาย L1 สัมผัสถูกสาย L2 , หรือสาย L2 สัมผัสถูกสาย L3, หรือสาย L1 สัมผัสถูกสาย L3 อย่างโดยตรงเช่นกัน การลัดวงจรไฟฟ้าเช่นนี้จะรุนแรงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดสายไฟและปริมาณการใช้กระแสไฟในขณะนั้น
ถ้าเราใช้คาร์ตริกฟิวส์ หรือคัทเอ้าท์ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดกระแสไฟเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ( ส่วนมากจะตัดเส้น
ที่มีกระแสไฟ คือสาย " L " ส่วนสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ คือสาย " N " จะยังถูกต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอกอยู่ )ซึ่งบางครั้งเราคิดว่าสายศูนย์สามารถจับได้ แต่หากมีกระแสผิดปกติเข้ามาที่สายศูนย์โดยที่ไม่ได้ลงดินไป เราจะถูกไฟฟ้าดูดทันทีหรือถ้าเราใช้ "สะพานไฟอัตโนมัติ" เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)แต่เราจะต้องถอดตัวมันออกมาเพื่อเปลี่ยนแผ่นโลหะนำกระแสไฟทุกครั้ง เพราะมันจะขาดออกเหมือนเส้นลวดของคาร์ตริกฟิวส์แต่ถ้าเราใช้ " เซอร์กิตเบรคเกอร์ “ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)และสามารถโยกก้านสับต่อกระแสไฟใช้งานใหม่ได้เมื่อแก้ไขจุดผิดพลาดเสร็จแล้ว จึงเห็นได้ว่าสะดวกและปลอดภัยกว่า
เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว บางทีก็เรียกว่า " ตัวป้องกันไฟดูดไฟรั่ว " ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
2. ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCBO ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากถูกออกแบบการทำงานโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ประกอบเป็นวงจรขึ้นมา เพื่อไปสั่งให้ชุดกลไกของตัวปลดวงจร(ตรงก้านโยก)สับลง อีกทั้งยังมีชุดป้องกันการลัดวงจรและการใช้กระแสไฟเกินประกอบอยู่ด้วย ทำให้สามารถติดตั้งเป็นเมนสวิทช์ ตัดตอนไฟฟ้าภายในบ้านต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้เลย แต่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ เราจะต้องเข้าสายไฟให้ถูกตำแหน่ง คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " L " และสายศูนย์ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " N " เพราะถ้าหากเข้าสายไฟสลับขั้วกัน วงจรอิเลคทรอนิคส์ภายในอาจจะไม่ทำงาน ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเปรียบเสมือนเป็นเพียงเบรคเกอร์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง
ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCCB ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากจะถูกออกแบบการทำงานโดยใช้ Current transformer ทรงกลมขนาดเล็กๆ ติดตั้งอยู่ภายใน(ไม่มีวงจรอิเลคทรอนิคส์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย) และมีกลไกทางไฟฟ้าประกอบอยู่รวมกัน อาศัยหลักการณ์ง่ายๆ ของการสร้างสนามแม่เหล็กจากลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กทั้ง 2 ด้าน คือด้านกระแสไฟเข้า และด้านกระแสไฟออกให้เกิดความสมดุลย์กัน ( หรือที่เรียกว่ากระแสไหลเข้าเท่ากับกระแสไหลออก ) ก็จะเป็นสภาวะปกติ แต่หากมีกระแสไฟรั่วที่ด้านไฟออก สนามแม่เหล็กที่สร้างอยู่จะมากเพียงด้านเดียวก็จะไปดันแผ่นโลหะบางๆ ภายในให้ไปเตะกระเดื่องของก้านโยกให้สับลงเพื่อปลดการจ่ายกระแสไฟออกไป เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ส่วนมากจะไม่มีอักษรกำกับที่ขั้วเข้าสายไฟ จึงสามารถเข้าสายไฟเส้น " L " และ " N " สลับขั้วกันได้ซึ่งไม่มีผลต่อระบบการทำงานของกลไกภายใน
แบบใช้วงจรอิเลคทรอนิคส์ควบคุม
ข้อดี
1. สามารถปรับเลือกค่าตัดกระแสไฟรั่วได้ หรือต่อแบบไม่ผ่านวงจรตรวจสอบกระแสไฟรั่วได้
2. มีชุดป้องกันการใช้กระแสไฟเกินในตัวเดียวกันจึงสามารถต่อหลังมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้
ข้อเสีย
1. การที่มีตัวปรับค่ากระแสไฟรั่ว นั่นหมายถึงชีวิตของเราตกอยู่ในอันตรายได้ทุกเมื่อ
2. วงจรอิเลคทรอนิคส์มีความไวต่อกระแสกระเพื่อมมันจะตัดการจ่ายกระแสไฟบ่อยมากจนน่ารำคาญ
แบบใช้ Current transformer ควบคุม
ข้อดี
1. ไมีมีปุ่มปรับเลือกค่ากระแสไฟรั่ว หรือต่อผ่านชุดควบคุม จึงมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิต
2. ไม่มีความไวต่อกระแสกระเพื่อม หรือ กระแสไฟกระโชก จึงไม่ตัดการจ่ายกระแสไฟให้น่ารำคาญ
ข้อเสีย
1. ต่อเป็นเมนตัดตอนหลังมิเตอร์การไฟฟ้าฯ ไม่ได้ต้องต่อผ่านคาร์ตริกฟิวส์หรือเบรคเกอร์ก่อนเสมอ
2. ถ้าต่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ มันจะชำรุดเสียหายทันที
สาเหตุที่ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีหลายสาเหตุ อาจเนื่องมาจาก
1. มีกระแสไฟรั่วที่อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ซึ่งเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่เครื่องตัด-
กระแสไฟรั่วตัวนั้นๆ เช่นอาจมากกว่า 30 mA.( มิลิแอมป์ )
2. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับโครงสร้างที่เป็นโลหะของอาคาร หรือสัมผัสถูกกับผิวท่อร้อยสายไฟแบบโลหะ ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
3. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับผนังอาคารที่มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
4. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับส่วนต่างๆ ของอาคารที่มีน้ำรั่วจากระบบประปา หรือสุขาภิบาลอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
5. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานที่ร้อยในท่อร้อยสายไฟ ชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดง หรืออลูมิเนียมและในท่อร้อยสายไฟนั้นมีน้ำขังอยู่ ทำให้กระแสไฟรั่วสู่น้ำและลงสู่ดินได้ในที่สุด
6. เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือมีความชื้นอยู่ภายใน หรือมีความผิดปกติของกลไกภายในจากการผลิต
ขั้นตอนการตรวจหาสาเหตุเมื่อเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีดังนี้
1. กรณีที่ไม่มีวงจรย่อยควบคุม คือ ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด (ซึ่งต่อผ่านเครื่องตัด - กระแสไฟรั่วโดยตรง ) และเราไม่รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใด ก็ให้ดึงถอดปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากเต้ารับไฟฟ้าทุกตัว แล้วโยกก้านสับของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น จากนั้นให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้ากับเต้ารับไฟฟ้าเปิดใช้งานทีละตัว เราก็จะพบเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่มีกระแสไฟรั่ว เพราะมันจะทำให้ก้านโยกของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วสับลงให้เราเห็นทันที
2. กรณีที่มีวงจรย่อยควบคุม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด ( โดยที่เต้ารับไฟฟ้านั้นๆ ต่อเป็นวงจรอยู่กับเบรคเกอร์ย่อยที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ) ถ้ามีเบรคเกอร์วงจรย่อยต่อผ่านเครื่องตัดกระแสำไฟรั่วหลายตัวก็ให้โยกก้านสับที่ตัวเบรคเกอร์เหล่านี้ลงทั้งหมดก่อน จากนั้นก็โยกก้านสับที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น(จะโยกขึ้นใหม่ได้) แล้วเริ่มโยกก้านสับที่เบรคเกอร์วงจรย่อยขึ้นทีละตัว เมื่อถึงตัวที่มีกระแสไฟรั่วในวงจรนั้น เครื่องตัดกระแสไฟรั่วจะตัดกระแสไฟทันที เราก็สับก้านโยกที่ตัวเบรคเกอร์ตัวนั้นลงเพียงตัวเดียว เบรกเกอร์วงจรย่อยอื่นๆก็จะใช้ไฟได้ดังเดิม ( แต่ถ้ามีกระแสไฟรั่วมากกว่าหนึ่งวงจร เราก็ต้องสับก้านโยกที่เบรคเกอร์วงจรย่อยที่มีกระแสไฟรั่วเหล่านั้นลงให้หมด เครื่องตัดกระไฟรั่วจึงจะเปิดใช้งานได้ )
3. กรณีเครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือไม่ตัดกระแสไฟเมื่อมีกระแสไฟรั่ว หรือถูกไฟดูด โดยปกติเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทั่วๆ ไป จะมีปุ่มทดสอบการทำงาน ( TEST ) อยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟได้ทำการทดสอบหลังจากที่ได้ติดตั้งใช้งานไปแล้วทุกๆ 1 เดือน จะได้ทราบว่าเครื่องยังทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่ ก็โดยการกดปุ่มทดสอบ " TEST " ขณะที่ใช้กระแสไฟอยู่ ถ้าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจรลงแสดงว่าเครื่องยังเป็นปกติอยู่ แต่ถ้าเครื่องยังจ่ายกระแสไฟให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่อย่างเดิม แสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วไม่ทำงาน เราอาจถูกไฟดูดถ้ามีกระแสไฟรั่วเกิดขึ้น
มีวิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้นำเครื่องตัดกระแสไฟรั่วมาวางบนโต๊ะ แล้วทำการต่อสายไฟ 2 เส้น ( แบบ 220 โวลท์ )
เข้าที่ขั้วต่อสายด้านบนของเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ( ขั้วด้านล่างไม่ต้องต่อสายไฟออก ) จ่ายแรงดันไฟฟ้าผ่านเข้าตัวเครื่อง จากนั้นให้โยกก้านสับของตัวเครื่องขึ้น ใช้ไขควงวัดไฟวัดที่ขั้วต่อสายไฟด้านล่างดูว่ามีกระแสไฟไหลผ่านมาที่ขั้วหรือไม่(วัดไฟดูทีละขั้ว)ถ้ามีกระแสไฟมาที่ขั้วใดขั้วหนึ่งแสดงว่าปกติ หลังจากนั้นให้กดปุ่มทดสอบ " TEST " ที่ตัวเครื่อง ถ้ากดแล้ว แต่ก้านโยกไม่สับลงแสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดปกติใช้งานไม่ได้
4. กรณีเข้าสายไฟที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดขั้ว เครื่องตัดกระแสไฟรั่วบางยี่ห้อที่ผลิตมาใช้งาน จะระบุตำแหน่ง
เข้าสายไฟอย่างเจาะจง เช่น ระบุขั้วสายศูนย์ ( N ) นั่นหมายความว่าเราต้องเข้าสายศูนย์ (N) ที่ขั้วนี้เท่านั้น หากนำสายศูนย์ (N)ไปเข้าที่ตำแน่งสาย LINE (L) เครื่องตัดกระแสไฟรั่วอาจไม่ทำงานก็ได้ การทดสอบจะคล้ายๆ ในข้อที่ 3. เพียงแต่ให้ลองสลับสายไฟที่ขั้วด้านสายเข้าที่ตัวเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทีละครั้ง ( แต่ต้องดึงปลั๊กไฟที่เต้ารับที่ผนังออกก่อนเพื่อความปลอดภัย )
1. เครื่องป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจร
2. เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว
3. หลักดิน, สายต่อหลักดิน และสายดินเครื่องป้องกันกระแสเกินและกระแสไฟลัดวงจร หรือที่เรียกว่า " เครื่องปลดวงจร " หรือ " สวิทช์ตัดตอน "มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบอัตโนมัติ
แบบกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ คารตริกฟิวส์ และ คัทเอ้าท์ (หรือสะพานไฟ)
แบบอัตโนมัติ ได้แก่ สะพานไฟอัตโนมัติ และ เซอร์กิตเบรคเกอร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า " เบรคเกอร์ "
การใช้กระแสไฟเกิน หมายถึง การใช้กระแสไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ แล้วทำให้ค่าการกินกระแสไฟจากการใช้ไฟนั้นมากกว่าค่ารองรับการใช้กระแสไฟของเครื่องป้องกัน หรือสวิทช์ตัดตอน
การลัดวงจร หมายถึง การที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 2 เส้น(ในระบบ 1 เฟส 2 สาย) คือสายเส้นที่มีกระแสไฟ (L) ไปสัมผัส ถูกสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟหรือสายศูนย์ (N) อย่างโดยตรง หรือการที่ตัวนำกระแสไฟของสายไฟ 3 เส้น ( ในระบบ 3 เฟส-4 สาย) สัมผัสถูกกัน เช่น สาย L1 สัมผัสถูกสาย L2 , หรือสาย L2 สัมผัสถูกสาย L3, หรือสาย L1 สัมผัสถูกสาย L3 อย่างโดยตรงเช่นกัน การลัดวงจรไฟฟ้าเช่นนี้จะรุนแรงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดสายไฟและปริมาณการใช้กระแสไฟในขณะนั้น
ถ้าเราใช้คาร์ตริกฟิวส์ หรือคัทเอ้าท์ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดกระแสไฟเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ( ส่วนมากจะตัดเส้น
ที่มีกระแสไฟ คือสาย " L " ส่วนสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ คือสาย " N " จะยังถูกต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอกอยู่ )ซึ่งบางครั้งเราคิดว่าสายศูนย์สามารถจับได้ แต่หากมีกระแสผิดปกติเข้ามาที่สายศูนย์โดยที่ไม่ได้ลงดินไป เราจะถูกไฟฟ้าดูดทันทีหรือถ้าเราใช้ "สะพานไฟอัตโนมัติ" เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)แต่เราจะต้องถอดตัวมันออกมาเพื่อเปลี่ยนแผ่นโลหะนำกระแสไฟทุกครั้ง เพราะมันจะขาดออกเหมือนเส้นลวดของคาร์ตริกฟิวส์แต่ถ้าเราใช้ " เซอร์กิตเบรคเกอร์ “ เป็นสวิทช์ตัดตอน มันจะตัดการจ่ายกระแสไฟทั้ง 2 เส้น (กรณีแบบ 2 ขั้ว 220 V.)และสามารถโยกก้านสับต่อกระแสไฟใช้งานใหม่ได้เมื่อแก้ไขจุดผิดพลาดเสร็จแล้ว จึงเห็นได้ว่าสะดวกและปลอดภัยกว่า
เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว บางทีก็เรียกว่า " ตัวป้องกันไฟดูดไฟรั่ว " ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
2. ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้
ชนิดที่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCBO ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากถูกออกแบบการทำงานโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ประกอบเป็นวงจรขึ้นมา เพื่อไปสั่งให้ชุดกลไกของตัวปลดวงจร(ตรงก้านโยก)สับลง อีกทั้งยังมีชุดป้องกันการลัดวงจรและการใช้กระแสไฟเกินประกอบอยู่ด้วย ทำให้สามารถติดตั้งเป็นเมนสวิทช์ ตัดตอนไฟฟ้าภายในบ้านต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้เลย แต่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ เราจะต้องเข้าสายไฟให้ถูกตำแหน่ง คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " L " และสายศูนย์ ต้องเข้าที่ขั้วอักษร " N " เพราะถ้าหากเข้าสายไฟสลับขั้วกัน วงจรอิเลคทรอนิคส์ภายในอาจจะไม่ทำงาน ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเปรียบเสมือนเป็นเพียงเบรคเกอร์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง
ชนิดที่ไม่สามารถปลดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือใช้กระแสไฟเกินได้ ( RCCB ) เครื่องตัดไฟรั่วชนิดนี้ ส่วนมากจะถูกออกแบบการทำงานโดยใช้ Current transformer ทรงกลมขนาดเล็กๆ ติดตั้งอยู่ภายใน(ไม่มีวงจรอิเลคทรอนิคส์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย) และมีกลไกทางไฟฟ้าประกอบอยู่รวมกัน อาศัยหลักการณ์ง่ายๆ ของการสร้างสนามแม่เหล็กจากลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กทั้ง 2 ด้าน คือด้านกระแสไฟเข้า และด้านกระแสไฟออกให้เกิดความสมดุลย์กัน ( หรือที่เรียกว่ากระแสไหลเข้าเท่ากับกระแสไหลออก ) ก็จะเป็นสภาวะปกติ แต่หากมีกระแสไฟรั่วที่ด้านไฟออก สนามแม่เหล็กที่สร้างอยู่จะมากเพียงด้านเดียวก็จะไปดันแผ่นโลหะบางๆ ภายในให้ไปเตะกระเดื่องของก้านโยกให้สับลงเพื่อปลดการจ่ายกระแสไฟออกไป เครื่องตัดกระแสไฟรั่วชนิดนี้ส่วนมากจะไม่มีอักษรกำกับที่ขั้วเข้าสายไฟ จึงสามารถเข้าสายไฟเส้น " L " และ " N " สลับขั้วกันได้ซึ่งไม่มีผลต่อระบบการทำงานของกลไกภายใน
แบบใช้วงจรอิเลคทรอนิคส์ควบคุม
ข้อดี
1. สามารถปรับเลือกค่าตัดกระแสไฟรั่วได้ หรือต่อแบบไม่ผ่านวงจรตรวจสอบกระแสไฟรั่วได้
2. มีชุดป้องกันการใช้กระแสไฟเกินในตัวเดียวกันจึงสามารถต่อหลังมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ได้
ข้อเสีย
1. การที่มีตัวปรับค่ากระแสไฟรั่ว นั่นหมายถึงชีวิตของเราตกอยู่ในอันตรายได้ทุกเมื่อ
2. วงจรอิเลคทรอนิคส์มีความไวต่อกระแสกระเพื่อมมันจะตัดการจ่ายกระแสไฟบ่อยมากจนน่ารำคาญ
แบบใช้ Current transformer ควบคุม
ข้อดี
1. ไมีมีปุ่มปรับเลือกค่ากระแสไฟรั่ว หรือต่อผ่านชุดควบคุม จึงมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิต
2. ไม่มีความไวต่อกระแสกระเพื่อม หรือ กระแสไฟกระโชก จึงไม่ตัดการจ่ายกระแสไฟให้น่ารำคาญ
ข้อเสีย
1. ต่อเป็นเมนตัดตอนหลังมิเตอร์การไฟฟ้าฯ ไม่ได้ต้องต่อผ่านคาร์ตริกฟิวส์หรือเบรคเกอร์ก่อนเสมอ
2. ถ้าต่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ มันจะชำรุดเสียหายทันที
สาเหตุที่ทำให้เครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีหลายสาเหตุ อาจเนื่องมาจาก
1. มีกระแสไฟรั่วที่อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ซึ่งเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ที่เครื่องตัด-
กระแสไฟรั่วตัวนั้นๆ เช่นอาจมากกว่า 30 mA.( มิลิแอมป์ )
2. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับโครงสร้างที่เป็นโลหะของอาคาร หรือสัมผัสถูกกับผิวท่อร้อยสายไฟแบบโลหะ ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
3. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับผนังอาคารที่มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
4. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดงหรือ อลูมิเนียมจนผิวตัวนำไปสัมผัสถูก
กับส่วนต่างๆ ของอาคารที่มีน้ำรั่วจากระบบประปา หรือสุขาภิบาลอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระแสไฟสามารถรั่วไหลลงสู่พื้นดินได้
5. สายไฟที่ติดตั้งใช้งานที่ร้อยในท่อร้อยสายไฟ ชำรุดมีรอยถลอกบริเวณฉนวนหุ้มตัวนำเช่น ทองแดง หรืออลูมิเนียมและในท่อร้อยสายไฟนั้นมีน้ำขังอยู่ ทำให้กระแสไฟรั่วสู่น้ำและลงสู่ดินได้ในที่สุด
6. เครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือมีความชื้นอยู่ภายใน หรือมีความผิดปกติของกลไกภายในจากการผลิต
ขั้นตอนการตรวจหาสาเหตุเมื่อเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจร ( ไม่จ่ายกระแสไฟ ) มีดังนี้
1. กรณีที่ไม่มีวงจรย่อยควบคุม คือ ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด (ซึ่งต่อผ่านเครื่องตัด - กระแสไฟรั่วโดยตรง ) และเราไม่รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใด ก็ให้ดึงถอดปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากเต้ารับไฟฟ้าทุกตัว แล้วโยกก้านสับของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น จากนั้นให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้ากับเต้ารับไฟฟ้าเปิดใช้งานทีละตัว เราก็จะพบเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่มีกระแสไฟรั่ว เพราะมันจะทำให้ก้านโยกของเครื่องตัดกระแสไฟรั่วสับลงให้เราเห็นทันที
2. กรณีที่มีวงจรย่อยควบคุม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่กับเต้ารับไฟฟ้าหลายๆ จุด ( โดยที่เต้ารับไฟฟ้านั้นๆ ต่อเป็นวงจรอยู่กับเบรคเกอร์ย่อยที่ต่อผ่านเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ) ถ้ามีเบรคเกอร์วงจรย่อยต่อผ่านเครื่องตัดกระแสำไฟรั่วหลายตัวก็ให้โยกก้านสับที่ตัวเบรคเกอร์เหล่านี้ลงทั้งหมดก่อน จากนั้นก็โยกก้านสับที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วขึ้น(จะโยกขึ้นใหม่ได้) แล้วเริ่มโยกก้านสับที่เบรคเกอร์วงจรย่อยขึ้นทีละตัว เมื่อถึงตัวที่มีกระแสไฟรั่วในวงจรนั้น เครื่องตัดกระแสไฟรั่วจะตัดกระแสไฟทันที เราก็สับก้านโยกที่ตัวเบรคเกอร์ตัวนั้นลงเพียงตัวเดียว เบรกเกอร์วงจรย่อยอื่นๆก็จะใช้ไฟได้ดังเดิม ( แต่ถ้ามีกระแสไฟรั่วมากกว่าหนึ่งวงจร เราก็ต้องสับก้านโยกที่เบรคเกอร์วงจรย่อยที่มีกระแสไฟรั่วเหล่านั้นลงให้หมด เครื่องตัดกระไฟรั่วจึงจะเปิดใช้งานได้ )
3. กรณีเครื่องตัดกระแสไฟรั่วเสื่อมสภาพ หรือไม่ตัดกระแสไฟเมื่อมีกระแสไฟรั่ว หรือถูกไฟดูด โดยปกติเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทั่วๆ ไป จะมีปุ่มทดสอบการทำงาน ( TEST ) อยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟได้ทำการทดสอบหลังจากที่ได้ติดตั้งใช้งานไปแล้วทุกๆ 1 เดือน จะได้ทราบว่าเครื่องยังทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่ ก็โดยการกดปุ่มทดสอบ " TEST " ขณะที่ใช้กระแสไฟอยู่ ถ้าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วปลดวงจรลงแสดงว่าเครื่องยังเป็นปกติอยู่ แต่ถ้าเครื่องยังจ่ายกระแสไฟให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่อย่างเดิม แสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วไม่ทำงาน เราอาจถูกไฟดูดถ้ามีกระแสไฟรั่วเกิดขึ้น
มีวิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้นำเครื่องตัดกระแสไฟรั่วมาวางบนโต๊ะ แล้วทำการต่อสายไฟ 2 เส้น ( แบบ 220 โวลท์ )
เข้าที่ขั้วต่อสายด้านบนของเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ( ขั้วด้านล่างไม่ต้องต่อสายไฟออก ) จ่ายแรงดันไฟฟ้าผ่านเข้าตัวเครื่อง จากนั้นให้โยกก้านสับของตัวเครื่องขึ้น ใช้ไขควงวัดไฟวัดที่ขั้วต่อสายไฟด้านล่างดูว่ามีกระแสไฟไหลผ่านมาที่ขั้วหรือไม่(วัดไฟดูทีละขั้ว)ถ้ามีกระแสไฟมาที่ขั้วใดขั้วหนึ่งแสดงว่าปกติ หลังจากนั้นให้กดปุ่มทดสอบ " TEST " ที่ตัวเครื่อง ถ้ากดแล้ว แต่ก้านโยกไม่สับลงแสดงว่าเครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดปกติใช้งานไม่ได้
4. กรณีเข้าสายไฟที่เครื่องตัดกระแสไฟรั่วผิดขั้ว เครื่องตัดกระแสไฟรั่วบางยี่ห้อที่ผลิตมาใช้งาน จะระบุตำแหน่ง
เข้าสายไฟอย่างเจาะจง เช่น ระบุขั้วสายศูนย์ ( N ) นั่นหมายความว่าเราต้องเข้าสายศูนย์ (N) ที่ขั้วนี้เท่านั้น หากนำสายศูนย์ (N)ไปเข้าที่ตำแน่งสาย LINE (L) เครื่องตัดกระแสไฟรั่วอาจไม่ทำงานก็ได้ การทดสอบจะคล้ายๆ ในข้อที่ 3. เพียงแต่ให้ลองสลับสายไฟที่ขั้วด้านสายเข้าที่ตัวเครื่องตัดกระแสไฟรั่วทีละครั้ง ( แต่ต้องดึงปลั๊กไฟที่เต้ารับที่ผนังออกก่อนเพื่อความปลอดภัย )