ต้นกำเนิดโคมระย้า Chandelier
โคมระย้าหรือแชนเดอเลียร์ (chandelier) เป็นชื่อเรียกลักษณะของโคมไฟตกแต่งที่แขวนบนเพดาน ซึ่งปัจจุบันโดยทั่วไปจะพบโคมไฟลักษณะนี้ ตามห้องโถงของสถานที่หรูหรา เช่นโรงแรมหรือ บ้านคนรวยโดยเริ่มในยุโรปตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 6
คำว่า " chandelier " เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลเป็นอังกฤษว่า "candleholder" ซึ่งก็คือเชิงเทียนที่แขวนลงมาจากเพดานแชนเดอเลียร์ในยุคแรกทำจากไม้รูปกากบาทอย่างง่ายๆมีเหล็กแหลมไว้ปักเทียนข้างบน ใช้ในโบสถ์ทั่วยุโรป และในคฤหาสน์ของเศรษฐีต่อมามีการพัฒนาโดยนำโลหะมาดัดจนมีลวดลายสวยงามประณีตอ่อนช้อยนอกจากจะแสดงถึงฐานะทางการเงินของเจ้าของบ้านที่มีแสงสว่างยามค่ำคืนในยุคนั้นแล้วเสน่ห์ของแชนเดอเลียร์แบบดั้งเดิมอยู่ที่แสงเทียนและเงาที่เกิดจากลวดลายของแชนเดอเลียร์
การนำกระจก แผ่นทองแดงและหินคริสตัลมาห้อยบนแชนเดอเลียร์ในยุคหลังๆทำให้มีแสงระยิบระยับมากขึ้นแต่หินคริสตัลหายากและราคาแพง ในปี1676 ช่างทำแก้วชาวอังกฤษจึงได้คิดค้นนำแก้วมาผสมกับสารตะกั่ว (lead oxide) แล้วเจียรจนมีประกายงดงามมากกว่าหินคริสตัล ในช่วงปี 1700 โคมระย้า หรือ chandelier เริ่มมีรูปทรงอ่อนช้อยมากขึ้นเมื่อมีการนำแก้วเป่ามาใช้ประดับแชนเดอเลียร์จากประเทศอิตาลีที่เรียกว่าสไตล์เวเนเชียน (Venetian Style)
กระแสความนิยมของ โคมระย้า หรือ chandelier กลับมาพร้อมกับการใส่สีลงไปบนแก้วเป็นสีสันของการตกแต่งยุคปัจจุบันบวกกับรูปทรงและลวดลายหรูหราของแชนเดอเลียร์ในอดีต แม้กระทั่งสีดำที่อาจจะดูไม่เข้าท่าในสมัยก่อนแต่ตอนนี้กลับดูสวยแปลกตาดี เหมาะกับการตกแต่งแนววินเทจ แนวโบฮีเมีย และ Classic-Chic ซึ่งเน้นการดึงลวดลายเก่าและใหม่มาผสมผสานกัน
จากนั้น วิวัฒนาการของโคมระย้า หรือ(Chandelier)ก็เปลี่ยนจากใช้เทียนไขมาเป็นหลอดไฟแทน และมีรูปร่างที่หลากหลายมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน