คีม เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับจับ ยึด ตัด สิ่งต่างๆ เช่น โลหะแผ่นบาง สายไฟฟ้า ท่อขนาดเล็ก และเส้นลวด เป็นต้น มีการนำมาใช้มากในโรงงานโลหะแผ่น งานซ่อมวิทยุ หรือ อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ คีมมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญมีดังนี้ คือ คีมปากแบนหรือปากจิ้งจก (Flat Nose Pliers) คีมปากขยาย (Slip Joint Pliers) คีมล็อค (Vise Grip Pliers) คีมตัด (Cutting Pliers) และคีมตัดปากทะแยง (Diagonal Cutting Pliers or Side cutters)และคีมปอกสายไฟฟ้าแรงสูง (Cable Stripper Pliers) เป็นต้น การใช้คีมด้วยความปลอดภัย ทำได้ดังนี้
1. เลือกใช้คีมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคมชนิดนั้นๆ เช่น คีมตัดไม่เหมาะกับการใช้จับ คีมตัดสาย ไฟฟ้า
และไม่เหมาที่จะใช้ตัดแผ่นโลหะ
2. ฟันที่ปากของคีมจับต้องไม่สึกหรอ ส่วนปากของคีมตัดต้องไม่ทื่อ
3. การจับคีม ควรให้ด้ามคมอยู่ที่ปลายนิ้วทั้ง 4 แล้วใช้อุ้มมือและนิ้วหัวแม่มือกดด้ามคีมอีกด้านจะทำให้มี
กำลังในการจับหรือตัด
4. การปลอกสายไฟฟ้าควรใช้คมปลอกสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดของรูปเท่ากับขนาดของสาย
ไฟฟ้าพอดี ส่วนการตัดสายไฟฟ้า หรือเส้นลวดที่ไม่ต้องการให้โผล่จากชิ้นงานควรใช้คีมตัดปากทะแยง
5. ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่หรือแข็งเกินไป แต่ให้ใช้กรรไกรแทน
6.ไม่ควรใช้คีมหรือคลายหัวนอต เพราะจะทำให้หัวนอตชำรุด
7. ถ้าต้งอจับชิ้นงานให้แน่นควรใช้คีมล็อก
8. ถ้าชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ควรใช้คีมปากขยาย การใช้คีมที่ปากเล็กจะไม่มีกำลังที่จะจับชิ้นงานให้แน่น เพราะ
ด้ามของคีมจะถ่างมากไป
9. ถ้าต้องการเก็บคีมไว้นาน ควรหยอดน้ำมันที่จุดหมุนของคีม และควรมีการหยอดน้ำมันเป็นระยะ
เครื่องมือประเภทคีม (Pliers)
เครื่องมือประเภทคีม จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีใช้แทบทุกลักษณะงานซ่อม เครื่องมือดังกล่าวนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้เหมาะสมกับงานในลักษณะแตกต่างกันเช่น
คีมตัดสายไฟฟ้า คีมช่างไฟฟ้า คีมปอกฉนวน คีมปากยาว คีมถอดแหวนล็อก เป็นต้น
การบำรุงรักษา
1.ใช้คีมให้เหมาะกับงาน
2.ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย ถ้าชำรุดห้ามใช้
3.ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว เพราะอาจให้ปากคีมเสียหาย
4.ไม่ควรใช้คีมแทนค้อน
5.เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยหยอดน้ำมันเสมอ